วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2552

ดอกทานตะวัน






ดอกทานตะวัน

ชื่อสามัญ Sunflower

ชื่อพฤกษาศาสตร์
Helianthus annuus Linn.

ชื่ออื่น ๆ บัวทอง ชอนตะวัน

วรรณคดีไทยที่กล่าวถึง กาพย์เห่เรือ
การขยายพันธุ์ การเพาะเมล็ด

สมุนไพร น้ำมันจากเมล็ด แก้พิษแมลงป่องต่อย ลดไขมันในเส้นเลือดใบ แก้หืด เบาหวานแกนต้น แก้นิ่วในทางเดินปัสสาวะ นิ่วในไต

ขับปัสสาวะ

ลักษณะ เป็นไม้ล้มลุก ต้นเดี่ยว ลำต้นตรงสูงไม่เกิน 2 เมตร มีขนสาก ใบรูป ไข่ขอบเป็นจัก ดอกมีขนาดใหญ่ กลางดอกเป็น เมล็ดสีเหลืองหันดอกไป
ทางทิศ ตะวันออก มีทั้งดอกซ้อนและไม่ซ้อน




ความหมายของดอกทานตะวัน


ดอกทานตะวัน จึงเป็นสัญญลักษณ์ของความเชื่อมั่น ความมั่นคง รักเดียวใจเดียว และมีนัยถึงศิลปะที่งดงาม ถ้าได้รับดอกทานตะวันเหมือนได้รับสารว่า "แม้เธอจะเย่อหยิ่งเพียงไร แต่สักวันฉันจะชนะใจเธอ" และยังหมายถึง "รักของฉันมั่นคงและภักดีต่อเธอเสมอ ดุจดั่งทานตะวันที่ไม่เคยหันมองผู้ใดนอกจากดวงอาทิตย์"




ประวัติ


ประวัติโดยย่อของดอกทานตะวัน ถือกำเนิดโดยการนำเข้ามาจากประเทศญี่ปุ่น นำมาปลูกที่คลองตะเคียน พระนครศรีอยุธยาในสมัยแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ช่วงประมาณปี พ.ศ. ๒๑๙๙ ตั้งแต่สมัยอยุธยานานมากมาแล้วต่อมาต้นทานตะวันได้มีการปลูกแพร่หลายเป็นไม้ประดับที่นิยมในประเทศไทย ทานตะวัน แปลว่า การทาน กั้น ขวางตะวัน หรือ ต่อต้านกั้นตะวัน หากเราสังเกตดูให้ดีจะเห็นว่าดอกทานตะวันจะหันดอกเข้าหาตะวัน (พระอาทิตย์) เสมอ จนบางคนถึงกับกล่าวว่า น่าที่จะเรียกว่า “ดอกตามตะวัน” จะเหมาะกว่า แต่ในอีกความหมายก็ว่า “ทานตะวัน” คือเป็นเหมือนกับการทนทานกับแสงแดด หรือแสงอาทิตย์ เพราะมันหันหน้าเข้าหาอยู่ตลอดเวลา จึงน่าจะแปลได้ความหมายเป็นอย่างหลังมากกว่า อีกนัยหนึ่งคือ “ไม่ถึงตะวัน” ถึงจะมีความทนทานต่อแสงอันร้อนแรงของพระอาทิตย์ แต่ก็ไม่สามารถไปถึงตะวันได้ ในเรื่องของเทวปกรฌัม ยังได้กล่าวถึงเทพธิดาองค์หนึ่งชื่อไคลที (Clytie) อาศัยอยู่ถ้ำใต้ทะเลลึก มีแต่ทราย หอยและเปลือกหอย โดยอาศัยนอนอยู่ในเปลือกหอยก้นทะเลไม่เคยขึ้นมาบนฝั่ง มีแต่คลื่นสีเขียวอยู่ใต้น้ำทะเล เนื่องจากแสงอาทิตย์ส่องลงไปไม่ถึง นางฟ้าไคลทีเป็นเทพีแห่งน้ำเกิดในน้ำหรืออาจเรียกว่าพรายน้ำก็ว่าได้ อยู่อาศัยอย่างเป็นสุขสงบเรื่อยมาจนเติบโตขึ้นเป็นสาวน้อยอยู่มาจนกระทั่งวันหนึ่งเกิดมีพายุพัดกระหน่ำเข้ามาอย่างรุนแรง ซึ่งที่ผ่านมาไม่เคยพัดลงไปถึงข้างล่างใต้ทะเลเลย พัดอยู่เพียงพื้นผิวน้ำชั้นบนเท่านั้น แต่คราวนี้ได้เกิดพายุพัดกระหน่ำเป็นคลื่นม้วนตัวลงไปข้างใต้น้ำ แล้วพัดพาเอาสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่ข้างใต้นั้นขึ้นมาอยู่ข้างบนแทน ซึ่งไคลทีก็เป็นหนึ่งในจำนวนนั้นที่ต้องขึ้นมาอยู่บนโลกมนุษย์ เมื่อถูกคลื่นทะเลซัดขึ้นมาถึงฝั่งฟื้นคืนสติก็มองเห็นแสงแดด มองเห็นพืชพันธุ์ต้นไม้ต่าง ๆ ที่สวยงาม และที่สวยที่สุดก็คือแสงแห่งตะวันที่สาดส่องลงมาตรงบริเวณเกาะหรือตรงพื้นแผ่นดินนั้น ส่องไปทุก ๆ ที่ที่ไคลทีมอง ไคลทีเพิ่งได้มีโอกาสเห็นแสงอาทิตย์เป็นครั้งแรก ก็เกิดความรักในพระอาทิตย์ขึ้นมา คือรักเทพอพอลโล (Apollo) เพราะเห็นความงามของอพอลโล(Apollo) นางจึงปฏิญาณว่าจะไม่ลงไปสู่ใต้ทะเลอีก จะขออยู่บนเกาะตลอดไปเพื่อติดตามดูตะวันทุก ๆ วัน จะขออยู่ดูความงามแห่งพระอาทิตย์ ดูความงดงามแห่งเทพอพอลโล (Apollo) ตั้งแต่รุ่งอรุณจนยามเย็น จะหันตามดูตลอดเวลา จนกระทั่งเทวดาสงสารนางเพราะเทพอพอลโล (Apollo)ไม่เคยเหลียวแลเลยจึงได้ช่วยกันบันดาลให้ในเย็นวันหนึ่งในขณะที่ไคลทียืนมองตะวันอยู่ที่บนฝั่งทะเลให้เท้านั้นหยั่งลึกลงไปในดินเครื่องแต่งกายให้เปลี่ยนแปลง กลายเป็นสีเขียวผมจากสีทองให้กลายเป็นสีเหลืองล้อมดวงหน้าไว้แล้วให้ดวงตาที่คอยมองตามพระอาทิตย์นั้นเป็นสีน้ำตาลจึงกลายเป็นดอกทานตะวันที่สวยงามที่เฝ้ามองตามพระอาทิตย์ที่ขึ้นและลงข้ามขอบฟ้าในทุกวันๆดอกทานตะวันจึงมีรูปลักษณ์อย่างที่เราเห็นเป็นดอกไม้แสนงามในปัจจุบันนี้เอง



พันธุ์ทานตะวัน


ทานตะวันมี 3 สายพันธุ์ พันธุ์ผสมเปิด ซึ่งเป็นพันธุ์เดิมที่ใช้ปลูก ซึ่งในดอกจะมีจำนวนเรณูที่ติดอยู่ที่ก้านชูเกสรตัวเมียน้อย ทำให้การติดเมล็ดด้วยการผสมตัวเองต่ำ ต้องอาศัยแมลงช่วยในการผสมเกสร จึงจะทำให้ติดเมล็ด การปลูกจึงไม่ประสบผลสำเร็จเพราะได้เมล็ดลีบ ผลผลิตต่ำเนื่องจากไม่ค่อยมีแมลงช่วยผสมเกสร แต่ปัจจุบันมีพันธุ์ลูกผสมสามารถติดเมล็ดได้ดี โดยไม่ต้องอาศัยแมลงช่วยผสมเกสร เพราะในดอกมีละอองเรณูที่ติดอยู่ก้านชูเกสรตัวเมียมากกว่าพันธุ์ผสมเปิด 3-4 เท่า จึงทำให้การติดเมล็ดด้วยการผสมตัวเองดีกว่าสายพันธุ์ผสมเปิด
ปัจจุบันยังไม่มีการผลิตเมล็ดทานตะวันลูกผสมในประเทศไทย ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ได้แก่ พันธุ์ไฮซัน 33 และพันธุ์เอส 101 ซึ่งมีลักษณะของจานดอกค่อนข้างใหญ่ กลีบดอกสีเหลืองสดใส และให้ปริมาณน้ำมันสูง
สายพันธุ์สังเคราะห์ซึ่งยังไม่มีการส่งเสริมในปัจจุบัน แต่ในขณะนี้อยู่ระหว่งการวิจัยของหน่วยงานวิจัย
สำหรับทานตะวันที่ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกในขณะนี้คือสายพันธุ์ลูกผสม
ลักษณะดีเด่นของพันธุ์ลูกผสม ได้แก่
1. ผลผลิต เฉลี่ย 254.82 กิโลกรัมต่อไร่
2. การติดเมล็ด เฉลี่ยร้อยละ 76.3
3. เส้นผ่าศูนย์กลาง เฉลี่ย 15.4 เซนติเมตรของจานดอก
4. ความสูงของต้น เฉลี่ย 168.9 เซนติเมตร
5. อายุเก็บเกี่ยว เฉลี่ย 90-100 วัน
6. ปริมาณน้ำมัน เฉลี่ยร้อยละ 48 ที่มา
1-4 การเปรียบเทียบพันธุ์ทานตะวันในท้องถิ่น จำนวน 5 พันธุ์ ฤดูแล้ง ปี 2529 ศูนย์วิจัยพืชไร่เชียงใหม่
5-6 บริษัทแปซิฟิค เมล็ดพันธุ์ จำกัด
ลักษณะที่ดีของพันธุ์ลูกผสม คือ สามารถผสมเกสรภายในดอกเดียวกันได้สูง การติดเมล็ดค่อนข้างดี การหาผึ้งหรือแมลงช่วยผสมเกสรจึงไม่จำเป็นมากนัก แต่ถ้ามีแมลงช่วยผสมก็มีลักษณะประจำพันธุ์ที่มีผลต่อการดึงดูดแมลง เช่น กลีบดอกสีสดใส กลิ่นของเรณู ปริมาณและคุณภาพของน้ำหวานก็ดีกว่าพันธุ์ผสมเปิด ทนทานต่อการโค้นล้มและต้านทานต่อโรคราสนิม